เครื่องปรับอากาศ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการเติบโตสูงและใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ทั้งภาคที่อยู่อาศัย และภาคธุรกิจ โดยเริ่มเปิดตัวโครงการฯ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2538 ด้วยความร่วมมือจาก บริษัทผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ ในการกำหนดระดับประสิทธิภาพและพัฒนาเครื่องปรับอากาศ เพื่อติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพเบอร์ 5 โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) เป็นหน่วยงานทดสอบค่าประสิทธิภาพ
มาตรฐานที่เกี่ยวข้องในการทดสอบ
- เครื่องปรับอากาศ ชนิด Fixed Speed มอก. 1155-2536 เครื่องปรับอากาศสำหรับห้อง แบบแยกส่วน ระบายความร้อน ด้วยอากาศ(ทดสอบ), มอก. 2134-2553
- เครื่องปรับอากาศสำหรับห้อง : ประสิทธิภาพพลังงาน เครื่องปรับอากาศ ชนิด Variable speed/Inverter ISO 5151 : 2010 Non- ducted air conditioners and heat pumps- Testing and rating for performance(ทดสอบ), ISO 16348-1 : 2013 Air-cooled air conditioners and air-to-air heat pumps-Testing and calculating methods for seasonal performance factor-part 1 : Cooling seasonal performance factor(ขอบข่ายการทดสอบและวีธีการคำนวณ), ข้อกำหนดโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศ
เกณฑ์ระบบประสิทธิภาพพลังงาน กฟผ. กำหนดระดับประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ โดยแบ่งเกณฑ์ตามชนิดเครื่องปรับอากาศ ดังนี้
- เครื่องปรับอากาศ ชนิด Fixed speed กำหนดระดับประสิทธิภาพ โดยใช้เกณฑ์อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (ENERGY EFFICIENCY RATIO : EER) มีหน่วยเป็น บีทียู/ชั่วโมง/วัตต์
ระดับประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 ชนิด FIXED SPEED เกณฑ์พลังงาน ปี ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554)
- เครื่องปรับอากาศ ชนิด Variable speed/Inverter กำหนดระดับประสิทธิภาพ โดยใช้ประสิทธิภาพพลังงานตามฤดีกาล (SEASONAL ENERGY EFFICIENCY RATIO : SEER) มีหน่วยเป็น บีทียู/ชั่วโมง/วัตต์
ระดับประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 ชนิด Variable speed/Inverter ปี ค.ศ.2015 (พ.ศ.2558)